วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รายงานการประชุม

รายงานการประชุม
คณะกรรมการประจำคณะครั้งที่ 3 (3/2552)
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
วันอังคารที่ 21 เมษายน 2552
ณ ห้องประชุมกองกลาง ชั้น 2 อาคารอำนวยการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่


ผู้มาประชุม
1.นางสาวอารยา พัชรเมธา (คณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์)
2.ผศ.นิศรา จันทร์เจริญสุข (รองคณบดีฝ่ายบริหาร)
3.นายสมใจ ชื่นวัฒนาประณิธิ (รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา)
4.นายราเชนทร์ ชูศรี (รองคณบดีเขตพื้นที่เชียงราย)
5.นายวิกร จันทรวิโรจน์ (รองคณบดีเขตพื้นที่ลำปาง)
6.ผศ.กนกรัตน์ ดวงพิกุล (รองคณบดีเขตพื้นที่น่าน)
7.นางกรรณิการ์ ฤทธิ์ขุน (รองคณบดีเขตพื้นที่ตาก)
8.นางสาวสุรีย์พร ใหญ่สง่า (รองคณบดีเขตพื้นที่พิษณุโลก)
9.นายสุพงศ์ แดงสุริยศรี (หัวหน้าสาขาวิชาบริหารธุรกิจ)
10.นางสุทธิดา จันทร์คง (หัวหน้าสาขาวิชาการบัญชี)
11.ผศ.ลลิตพรรณ จรรย์สืบศรี (ตัวแทนคณาจารย์ประจำคณะ)
12.นายเสน่ห์ สวัสดิ์ (ตัวแทนคณาจารย์ประจำคณะ)
13.นายพรหมินทร์ รธนิตย์ (ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก)
14.รศ.พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์ (ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก)

ผู้ไม่มาประชุม
1.นางวันดี สุธารัตนชัยพร (หัวหน้าสาขาวิชาศิลปศาสตร์)

ผู้เข้าร่วมประชุม
1.นางพิมพ์หทัย บำรุงกิจ (ผู้ช่วยคณบดีเขตพื้นที่ลำปาง)
2.นางพวงทอง วังราษฎร์ (อาจารย์เขตพื้นที่ลำปาง)
3.นางสาวฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง (อาจารย์เขตพื้นที่ลำปาง)
4.นางสาวปิยะพร เสมาทอง (เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะ)
5.นางสาวฐานิญา อิสสระ (อาจารย์เขตพื้นที่น่าน)

ประธานในที่ประชุม คณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

เริ่มประชุมเวลา 09.40 น.

วาระที่ 1 เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.1 การจัดการการศึกษา Liberal Arts
ประธานในที่ประชุมมอบหมายให้รองคณบดีเขตพื้นที่พิษณุโลกชี้แจงเกี่ยวกับการไปไประชุมในเรื่องการจัดการการศึกษา Liberal Arts จากการประชุมเกี่ยวกับ Liberal Arts มีแนวทางในการวิจัยไว้ 4 หัวข้อหลัก ๆ ดังนี้
1. ความเป็นมา
2. ปัญญา
3. แนวคิด
4. การจัดการศึกษาแนว Liberal Arts
ทิศทางการจัดการการศึกษา Liberal Arts ในปัจจุบันคำนึงถึงการที่เราเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก การเปิดโลกทัศน์ต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม การบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อบ่มความเพาะจิตนาการทางความคิด การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน สำหรับการดำรงชีวิตทามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือการผันผวนตามกระแสโลก ซึ่งการจัดการการศึกษา Liberal Arts จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการปรับตัวตามกระแสวิกฤตของที่เกิดขึ้น
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
1.2 การลงนามของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับมหาวิทยาลัยคู่สัญญา
ประธานในที่ประชุมมอบหมายให้รองคณบดีเขตพื้นที่ลำปางชี้แจงเกี่ยวกับการไปประชุม การลงนามของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับมหาวิทยาลัยคู่สัญญา ไว้ดังนี้
1.2.1 การปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโท ทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงวิกฤตของโลก ซึ่งให้มหาวิทยาลัยทั้ง 4 มหาวิทยาลัย มีการพัฒนาหลักสูตร โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาวิกฤตโลก
1.2.2 หลักสูตรส่วนใหญ่เป็นการเน้นหลักสูตรเฉพาะ
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ ทางรองคณบดีเขตพื้นที่ลำปาง จะจัดทำบทสรุป การลงนามของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับมหาวิทยาลัยคู่สัญญา พร้อมซีดี จัดส่งมาให้กับคณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
1.3 ร่างจรรยาบรรณวิชาชีพ
ประธานในที่ประชุมแจ้งในเรื่องของร่างจรรยาบรรณที่คณะได้จัดทำขึ้น เนื่องจากจรรยาบรรณมหาวิทยาลัยได้มีการปรับเปลี่ยนใหม่ จึงทำให้ร่างจรรยาบรรณของคณะบริหารธุรกิจและ ศิลปะศาสตร์ต้องชะลอไว้ก่อน ทั้งนี้เมื่อจรรยาบรรณวิชาชีพของมหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้วจะนำร่างจรรยาบรรณของคณะฯ กลับมาพิจารณาอีกครั้ง
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ

วาระที่ 2 พิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาชี้แจงร่างแผนยุทธศาสตร์คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ซึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทางฝ่ายวิจัยและพัฒนาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โดยเฉพาะ และได้มีการจัดประชุมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ไปเมื่อวันที่ 8-9 เมษายน 2552 ที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เกิดร่างแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ขึ้นมาจากการระดมสมองของคณะกรรมการและ รองคณบดีแต่ละเขตพื้นที่ ซึ่งได้มีการกำหนดทิศทางของคณะฯ เพื่อนำไปสู่การคิดอัตลักษณ์ของคณะฯ โดยมีทิศทาง ดังนี้
การบริหารจัดการพื้นที่สูง และพื้นที่ชายแดนในกรอบ GMS สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในบริบทของนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับศักยภาพการแข่งขันของพื้นที่และสนับสนุนศาสตร์แขนงอื่น
1. กรอบมหาวิทยาลัย High land GMS Sustainable
2. ตัวตนของคณะ Management Innovation in Northern Competitive Landscape
3. สนับสนุนคณะอื่น Modern Management +IT
ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้มีการบอกถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของคณะฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้แบ่งมุมมองออกเป็น 4 ส่วน คือ ครู, นักศึกษา, หลักสูตรและการะบวนการเรียนการสอน เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละมุมอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แต่ละมุมมอง
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบและร่วมกันเพิ่มเติม แก้ไขร่างแผนยุทธศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ดังนี้ (ซึ่งในส่วนที่เพิ่มเติมและแก้ไขจะเป็นข้อความที่ขีดเส้นใต้)

วาระที่ 3 ร่วมพิจารณาแผนพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา
ประธานในที่ประชุมมอบหมายให้อาจารย์สุรีย์พร ใหญ่สง่า ชี้แจ้งปฏิทินการจัดทำรายงาน การประเมินตนเอง (SAR) และการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2551
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ ในการส่งข้อมูลกับมายังคณะฯ ให้ลงวันและเวลา กำกับให้ชัดเจนทุกครั้ง เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบข้อมูลในการเก็บรวมรวมอีกครั้ง

วาระที่ 4 อื่น ๆ
เรื่องที่ 1 การพิจารณาการรับรองรายงานการประชุม
รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ภาคพายัพ เชียงใหม่ ร่วมกับในที่ประชุมพิจารณารายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 2 (2/2552) ซึ่งในที่ประชุมขอแก้ไข ดังนี้

วาระที่ 5 การพิจารณาเงินประจำตำแหน่งหัวหน้าสาขา ประธานหลักสูตร
ส่วนที่แก้ไข รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์เขตพื้นที่ลำปาง ชี้แจงเกี่ยวกับการได้รับเงินประจำตำแหน่งตามโครงสร้างการบริหารงานของมหาวิทยาลัย คือ คณบดี รองคณบดี 3 ฝ่าย และหัวหน้าภาคหรือเทียบเท่า ซึ่งทางคณะฯ ได้เทียบเท่าหัวหน้าภาคไว้ในตำแหน่งหัวหน้าสาขา ซึ่งในการนี้หัวหน้าสาขาทั้ง 3 ท่านยังคงมีสิทธิ์ได้รับเงินประจำตำแหน่งจากเงินงบประมาณ แต่ในส่วนของผู้ช่วยคณบดีจะยังคงไม่ได้รับตามโครงสร้าง แต่ควรจะพิจารณาให้ได้รับจากเงินผลประโยชน์

วาระที่ 6 การพิจารณากรอบอัตรากำลัง
ส่วนที่แก้ไข ประธานในที่ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการบรรจุอาจารย์และชี้แจงเกี่ยวกับกรอบอัตรากำลังที่ทางมหาวิทยาลัยฯ จัดสรรให้คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ จากอัตราโดยรวมที่ทั้ง 4 คณะ ได้รับคือ 26 อัตรา โดยทั้ง 4 คณะได้ประชุมกันและสรุปตกลงกันว่าควรแบ่งอัตรากำลังของแต่ละคณะตามสัดส่วนของจำนวนอาจารย์อัตราจ้างที่มีอยู่ คณะฯ ได้รับกรอบอัตรากำลัง จำนวน 9 อัตราแต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยฯ ได้คืนอัตราเกษียณอายุราชการขาดไป 1 อัตรา ดังนั้นจึงต้องนำอัตราใหม่ 1 อัตรามาชดเชยให้กับอัตราเกษียณอายุราชการ จึงทำให้คงเหลือจำนวนอัตรากำลังใหม่ 8 อัตรา ทางคณะฯ จึงพิจารณา การจัดสรรอัตรากำลังให้กับแต่ละเขตพื้นที่จำนวนพื้นที่ละ 1 อัตรา ส่วนจำนวน คงค้างอีก 2 อัตราจะคงค้างไว้ให้กับจำนวนอาจารย์ที่สมัครในวุฒิปริญญาเอกหรือปริญญาโทให้กับเขตพื้นที่ ที่มีอาจารย์จ้างสอนจำนวนมาก
ส่วนที่แก้ไข จากการประชุมคณะกรรมการประจำคณะครั้งที่ 2 เป็น ประชุมคณะกรรมการประจำคณะครั้งที่ 3
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ

เรื่องที่ 2 กรอบอัตรากำลัง
ประธานในที่ประชุมชี้แจ้งเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการประจำคณะครั้งที่ 2 (2/2552) ว่าด้วยเรื่องกรอบอัตรากำลังที่ยังแขวนไว้ใน 2 อัตรา ควรมีการจัดสรรอย่างไร ให้เขตพื้นที่ใด ซึ่งในที่ประชุม รองคณบดีเขตพื้นที่ลำปางได้ชี้แจงเกี่ยวกับความต้องการกรอบอัตรากำลัง ทั้ง 2 อัตรา ไว้ดังนี้
• ทางเขตพื้นที่ลำปางมีจำนวนอาจารย์อัตราจ้างเป็นจำนวนมากที่ยังไม่มีโอกาสได้รับบรรจุให้เป็นข้าราชการ ถ้าเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้อาจารย์อัตราจ้างลดลงเนื่องจากการลาออกไปทำงานที่อื่น ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน และการที่อาจารย์อัตราจ้างไม่สามารถทำผลงานทางวิชาการได้ ทั้ง ๆ ที่อาจารย์อัตราจ้างมีศักยภาพเพียงพอในการทำผลงานทางวิชาการ ซึ่งถ้าหากอาจารย์อัตราจ้างได้รับอัตราบรรจุให้เป็นข้าราชการจะสามารถเพิ่ม KPI ในส่วนของการทำผลงานทางวิชาการและเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานต่อไป
• เขตพื้นที่ลำปางประสบปัญหาการขอความร่วมมือในการทำงานด้านต่าง ๆ จากอาจารย์ข้าราชการ ดังนั้นงานของคณะฯ จะได้รับการช่วยเหลือจากอาจารย์อัตราจ้างเป็นส่วนใหญ่
• อาจารย์อัตราจ้างของเขตพื้นที่ลำปางมีแนวโน้มที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ซึ่งจะมีผลให้ทางคณะฯ ได้รับ KPI เพิ่มขึ้น ในจำนวนอาจารย์อัตราจ้างทั้งหมดมีผู้สนใจที่จะศึกษาต่อมีจำนวน 5 ท่าน เมื่อมีการสนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ควรมีการสนับสนุนจำนวนกรอบอัตรากำลังที่คงค้าง จำนวน 2 อัตรา นี้จัดสรรให้กับอาจารย์ตามพื้นที่ต่าง ๆ ก่อน เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจและเพื่อที่จะให้อาจารย์ได้นำความรู้มาพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ดีกว่าการนำอัตราจำนวนนี้มอบให้แก่อาจารย์ที่กำลังจะมาสมัครเป็นอาจารย์ใหม่ของแต่ละพื้นที่
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบและยอมรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังจำนวน 2 อัตรา ให้กับคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เขตพื้นที่ลำปาง ซึ่งมีเงื่อนไขในการจัดสรรกรอบอัตรากำลังครั้งต่อไปไว้ ว่า ควรมีข้อกำหนดการจัดสรรกรอบอัตรากำลังที่แน่นอน และหากมีอัตราที่แขวนไว้เช่นครั้งนี้ จะต้องมี การจัดลำดับความสำคัญในการจัดสรร โดยหาจุดอ่อนของแต่ละเขตพื้นที่ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการเรียนการสอนของพื้นที่นั้น ๆ ต่อไป โดยประธานมอบหมายให้รองคณบดีฝ่ายบริหารเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ

เรื่องที่ 3 การเสนอหลักสูตร
การเสนอหลักสูตรต่าง ๆ เข้าที่ประชุมกรรมการวิชาการ จะต้องผ่านการประชุมคณะกรรมการประจำคณะทุกหลักสูตร ซึ่งในปัจจุบันหลักสูตรการบัญชีและหลักสูตรสารสนเทศกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงใหม่ เพื่อเสนอเข้าต่อสภาวิชาการต่อไป
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ เห็นว่าควรมีการตั้งกรรมการในการอ่าน เนื้อหาและความถูกต้องของถ้อยคำและตัวอักษรให้ถูกต้องก่อนการเสนอพิจารณาหลักสูตร

เรื่องที่ 4 การเลือกตัวแทนหัวหน้าสาขา
เนื่องจากหัวหน้าสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ภาคพายัพ เชียงใหม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ทำให้ต้องมีการเลือกตัวแทนหัวหน้าสาขาวิชาบริหารธุรกิจใหม่ เพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการประจำคณะ
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบและจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 4 เป็นการประชุมเฉพาะกิจ เรื่อง การเลือกตัวแทนหัวหน้าสาขา ซึ่งผู้ร่วมประชุมต้องมีหัวหน้าสาขาบริหารร่วมประชุมด้วย การประชุมจะจัดขึ้นในวันที่ 24 เมษายน 2552 เป็นการประชุมแบบ VDO Conference

เรื่องที่ 5 การตั้งคณะอนุกรรมการประจำคณะ
ที่ประชุมเสนอให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการประจำคณะฝ่าย ๆ เพื่อช่วยให้การบริหารงานของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะครั้งที่ 4 จะได้กำหนดวาระการประชุม เรื่อง การตั้งอนุกรรมการประจำคณะฝ่ายต่าง ๆ เข้าไปด้วย และมอบหมายให้รองคณบดี ฝ่ายบริหารได้จัดทำแบบฟอร์มการเสนอรายชื่ออนุกรรมการประจำคณะ

เรื่องที่ 6 คุณภาพการเรียนการสอน
รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เขตพื้นที่ลำปาง ชี้แจ้งปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ของคณะฯ ในแต่ละพื้นที่ต่าง ๆ ได้รับหน้าที่ให้ทำงานในส่วนงานของกองและฝ่ายต่าง ๆ จึงทำให้มีผลกระทบต่อการเรียนการสอน ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนลดต่ำลง
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ

เรื่องที่ 7 การพิจารณาผู้สมควรได้รับปริญญากิตติมศักดิ์
ประธานในที่ประชุมสอบถามรองคณบดีในแต่ละเขตพื้นที่เกี่ยวกับเรื่อง การเสนอรายชื่อผู้สมควรได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ใน 3 สาขาวิชา ซึ่งมีเพียงรองคณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ภาคพายัพ เชียงใหม่ เสนอรายชื่อ ได้แก่
1. นายประโพธ ปีติยา บริหารธุรกิจบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการ)
2. นายบุญช่วย กอบกิจพานิชผล บริหารธุรกิจบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การบัญชี)
ส่วนทางคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์เขตพื้นที่อื่น ๆ ยังคงไม่มีการเสนอรายชื่อ
มติที่ประชุม ที่ประชุมเห็นชอบรายชื่อผู้สมควรได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ จำนวน 2 ราย ดังเสนอและจะแจ้งสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเพื่อดำเนินการต่อไป

ปิดประชุมเวลา 14.45 น.


(นางสาววราภรณ์ ใจเทพ)
ผู้บันทึก/ผู้พิมพ์รายงานการประชุม


(ผศ. นิศรา จันทร์เจริญสุข)
ผู้ตรวจรายงานการประชุม/รองคณบดีฝ่ายบริหาร
รักษาราชการแทน คณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น